Share this

เเกะปมความเชื่อมโยง สรุปเทรนด์ ESG พร้อมวิธีคว้าโอกาสในโลกธุรกิจ

Issues
May
Digital Transformation
Categories:
#Digital Transformation#Automated Process
Inspired by: Patwadee
Views

จาก Megatrend มาแรงอย่าง ESG (Environment, Social, Governance) ที่ทำให้องค์กรต้องเพิ่มจุดโฟกัสในการทำธุรกิจให้มีความรักษ์โลกมากขึ้น เพื่อเเสดงจุดยืนให้ความสำคัญกับปัญหาสภาวะโลกร้อน ESG เป็นเทรนด์ที่มาแรงชนิดที่ว่าทั้งภาครัฐและสถาบันการเงินออก นโยบายและสิทธิประโยชน์สนับสนุนธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ ESG เช่น กองทุน ESG สินเชื่อ ESG เป็นต้น

 

วันนี้องค์กรที่ยังไม่เข้าใจ ESG trend น่าจะพลาดโอกาสหลายอย่าง โคเดียมจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดของ ESG ที่ภาคธุรกิจต้องรู้! พร้อมแนวทางการทำ ESG

 

รวมคำศัพท์ Must know ให้เข้าใจเรื่อง ESG อย่างถ่องแท้

 

มองในมุมผู้ประกอบการ เมื่อกล่าวถึง “ESG” และ “ภาวะโลกร้อน” จะเห็นว่าทั้งสองเรื่องคาบเกี่ยวกันในเเง่มุมของการจัดการปัญหา “สิ่งแวดล้อม(Environment)” เเต่เเท้จริงเเล้วโยงใยที่เชื่อมต่อทั้งสองคำนี้ไว้ด้วยกันมีความซับซ้อนและน่าดึงดูดมากกว่านั้นในเชิง “ธุรกิจ” อย่างไรก็ดี ก่อนที่โคเดียมจะพาทุกท่านไปเเกะปมความเชื่อมโยงข้างต้น เราไปทำความเข้าใจคำศัพท์ที่ควรรู้เพื่อทำความเข้าใจเรื่อง ESG กันก่อน

 

 

Carbon Footprint

จากผลการตรวจสอบของอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO อุณหภูมิโลกมีความเปลี่ยนเเปลงอย่างรุนเเรงหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เเต่ Fact ข้อนั้นยังไม่เพียงพอที่จะวัดระดับต้นตอที่ทำให้อุณหภูมิโลกเปลี่ยนเเปลงได้อย่างเเม่นยำ จึงเกิดเป็น Idea ในการทำความเข้าใจองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เเละคัดเลือกก๊าซที่เป็นองค์ประกอบหลักเพื่อใช้เป็นตัวเเทนในการเทียบวัดประมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งได้เเก่ Carbon dioxide

ดังนั้น การประเมิน Carbon Footprint คือ การวัดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาในทุกกิจกรรมของบริษัทตั้งเเต่การผลิต ขนส่ง จนถึงการจำหน่าย

 

Carbon Credit

Carbon Credit คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทลด หรือกักเก็บได้จากการทำโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยบริษัทสามารถนำปริมาณสะสมดังกล่าวไปเเลกเป็น “เครดิต” ที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ หากในอนาคตบริษัทมีการดำเนินการหรือกิจกรรมที่ทำให้จำเป็นต้องปล่อยก๊าซมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

 

Carbon Market

องค์กรสามารถทำการเเลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ โดยตลาดสำหรับการซื้อขาย เเลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตเรียกว่า Carbon Market เป็นเเนวคิดในการสร้างเเรงกระตุ้นให้ภาคธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในประเทศไทยเริ่มมีการใช้กลไกนี้ในรูปเเบบ “สมัครใจ (Voluntary Carbon Market)” เพื่อสร้างเเรงจูงใจเเละสนับสนุนโครงการเพื่อความยั่งยืนในรูปเเบบต่าง ๆ

 

Net Zero

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero คือ การลดก๊าซเรือนกระจกส่วนเกิน สร้างสมดุลให้กับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลก เเละเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน ได้เเก่ “ลด” Carbon Footprint ที่ปล่อยออกมา หรือ “ชดเชย” ด้วย Carbon Credit จากโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม

 

Carbon Accounting

Carbon Accounting คือ Framework การบันทึกเเละรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร

เนื่องจากมีการกำหนดมาตรฐานของการทำ Carbon Accounting เพื่อความชัดเจนเเละถูกต้อง จึงถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญ ทั้งในด้านกลยุทธ์เเละการบริหารความเสี่ยงในเชิงการจัดการด้านสิ่งเเวดล้อม

 

ความเชื่อมโยงเทรนด์ ESG กับธุรกิจ

 

 

ESG เทรนด์ที่เกิดจากความตื่นตัวในประเด็นภาวะโลกร้อน เพื่อขับเคลื่อนให้เรารักษ์โลกกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคธุรกิจ ที่มีส่วนอย่างมากในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท ทำให้ ภาครัฐออกนโยบายเอื้อสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้เเก่องค์กรที่ปรับเปลี่ยนรูปเเบบการดำเนินการให้สอดคล้องกับ ESG เพื่อให้ “ธุรกิจรักษ์โลกมากขึ้น”

 

เมื่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเป็นเครื่องบ่งชี้ความรุนเเรงของภาวะโลกร้อน Carbon Footprint จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหนึ่งในเกณฑ์สำคัญในการประเมินว่าองค์กรมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากน้อยเเค่ไหน

 

ในขณะเดียวกัน องค์กรก็สามารถใช้ Framework อย่าง Carbon Accounting ในการวัดและตรวจสอบรายละเอียดการปล่อย Carbon Footprint และนำไปสู่การวางกลยุทธ์บริหารจัดการการดำเนินการของบริษัท เพื่อควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่จะปล่อยอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่ Net Zero การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป้าหมายในการสร้างสมดุลปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลก

 

นอกเหนือจากท่าทีเพ่งเล็งซึ่งอาจจะสร้างเเรงกดดันให้กับภาคธุรกิจ เมื่อองค์กรทำโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยในการลดปริมาณปริมาณก๊าซเรือนกระจกก็สามารถนำไปเเลกเป็น Carbon Credit เเละทำการซื้อขายเครดิตในตลาดคาร์บอนหรือ Carbon Market ก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่องค์กรได้

 

Challenges & Solutions ในการทำ ESG ที่องค์กรต้องเจอ

 

ความท้าทายในการทำ ESG

 

ในการต้องทำ Carbon Accounting เพื่อตรวจสอบการบริหารจัดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเเนวคิด ESG องค์กรอาจต้องเผชิญกับความท้ายทายดังต่อไปนี้

 

▪︎ องค์กรต้องเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลกิจกรรมทั้งหมดที่ก่อให้เกิด Carbon Footprint เเบบลงลึกทุกรายละเอียดอย่างเเม่นยำ เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมิน ทำให้มีความจำเป็นต้อง ออกเเบบกระบวนการในการเก็บข้อมูล Carbon Footprint ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่มีความซับซ้อนและยุ่งยาก

▪︎ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ภาครัฐให้ความสนใจ ทำให้หลายองค์กรต้องเร่งจัดการให้บริษัท comply เรื่อง ESG ให้ได้อย่างรวดเร็ว จึงนำไปสู่การ จัดจ้างทีม ESG เพื่อเข้ามาดูเเลเฉพาะส่วน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายภายในองค์กร

▪︎ องค์กรที่ได้รับผลกระทบกับข้อบังคับในการทำ Carbon Accounting ส่วนมากเป็นองค์กรใหญ่เเละมักจะใช้ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เช่น SAP เป็นต้น เพื่อบริหารงานทรัพยากรขององค์กรอยู่เเล้ว ซึ่งองค์กรจะ ต้องทำการ Customize ระบบ ERP เพื่อรองรับการเก็บข้อมูล Carbon Footprint แต่จะพบว่าการ Customize ระบบนั้นทำได้ยากและมีราคาสูง

 

โซลูชั่นในการทำ ESG อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

จากที่ CODIUM ให้คำปรึกษาลูกค้าเรื่อง ESG พบว่าส่วนใหญ่จะติดปัญหาเรื่องการออกแบบวิธีเก็บข้อมูลให้สามารถนำไปคำนวณ Carbon Footprint ได้ เพราะข้อมูล Input ที่ต้องการค่อนข้างละเอียดและองค์กรไม่เคยเก็บข้อมูลเหล่านี้มาก่อน พอจะมาเก็บข้อมูล ทีนี้เหมือนต้องทำระบบการเก็บข้อมูล Carbon โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก

CODIUM จึงลองศึกษาจาก Process การทำงานหลักของลูกค้า และพบเคล็ด(ไม่)ลับ ว่า วิธีที่จะเก็บกิจกรรมองค์กรที่ก่อให้เกิด Carbon ได้ดี คือ เก็บจาก “กิจกรรมซื้อขายของบริษัท” เนื่องจากข้อมูลทุกอย่างจะมีที่มาจากการดำเนินการซื้อขายขององค์กร

เราจึงขอเสนอ ระบบ e-Memo ระบบจัดการเอกสารออนไลน์ โซลูชั่นที่ช่วยให้องค์กรสามารถเก็บข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิด Carbon Footprint ได้ครบถ้วนผ่านการอนุมัติใบสั่งซื้อขององค์กร (Purchase Request) แล้วเชื่อมต่อนำข้อมูลเข้า ระบบ Carbon Accouting เพื่อคำนวณเป็น Carbon Footprint ขององค์กร นำไปรายงานกับภาครัฐต่อไปได้ นอกจากนี้ระบบ e-Memo ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ ERP ที่องค์กรใช้อยู่ได้อีกด้วย

ด้วยพลังของ ระบบ e-Memo กับ ระบบ Carbon Accouting จะเห็นว่าองค์กรสามารถเก็บและได้ข้อมูลในการคำนวณออกมาเป็นรายงาน Carbon Footprint ได้ง่าย ๆ แถมได้ระบบอนุมัติเอกสารติดมือไปด้วย โดยไม่ต้องเสียค่า Customize ระบบ ERP ที่แสนแพง และทีมงานไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนคอยกรอกข้อมูล Manual กับกิจกรรมที่ก่อให้เกิด Carbon ในองค์กร

 

ระบบ e-Memo : ESG Dashboard

 

รวมมาให้ข่าวสารฮิต ติดกระแส ESG เพิ่มเติม

- ประเทศไทยจริงจังกับเทรนด์ ESG แค่ไหน ประโยชน์ที่องค์กรจะได้จาก ESG มีอะไรบ้าง บริษัทใหญ่ทำอะไรกันให้ทันตามเทรนด์ ESG อ่านต่อ คลิก

 

 

- เผยแนวทางการปฏิบัติจริง องค์กรลงทุนรอบเดียว ได้ครบจบเรื่อง ESG ทั้ง Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) อ่านต่อ คลิก

 

 

- สรุปภาพรวมเรื่อง ESG แบบฉบับ CEO ฟังได้ที่ คลิก

 

 

- CEO ชวนทำความเข้าใจเพิ่มเรื่อง Carbon Footprint & Carbon Credit และกลไกเชิงธุรกิจ ที่องค์กรไม่ควรพลาด ฟังได้ที่ คลิก

 

You may also like
Low Code Framework ทำงานอย่างไร?
Low Code Framework ทำงานอย่างไร?
มิ.ย. 06, 2024อ่านเมื่อ 1 วันที่แล้ว
Back-end Tools
Front-end Tools
Automated Process
3 หลักการ ทำ Digital transformation ให้ถูกหลัก
3 หลักการ ทำ Digital transformation ให้ถูกหลัก
มิ.ย. 06, 2024อ่านเมื่อ 33 นาทีที่แล้ว
Digital Transformation
ถึงเวลาก้าวหน้า! ผลักดันรัฐบาลด้วย “Digital ID”
ถึงเวลาก้าวหน้า! ผลักดันรัฐบาลด้วย “Digital ID”
มิ.ย. 06, 2024อ่านเมื่อ 2 วันที่แล้ว
Tech & Legal
Digital Transformation
รู้หรือไม่? บริษัทเป็นสมาชิกกับ NDID แล้วดีอย่างไร?
รู้หรือไม่? บริษัทเป็นสมาชิกกับ NDID แล้วดีอย่างไร?
มิ.ย. 06, 2024อ่านเมื่อ 22 วันที่แล้ว
Digital Transformation

SUBSCRIBE TO OUR

NEWS
LETTER .

Code , Consult , Communicate

โคเดียมสัญญาว่าจะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ และเราจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเท่าที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์/บริการที่คุณร้องขอมาเท่านั้น

ในบางกรณีเราอาจจะติดต่อไปหาคุณเพื่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์, บริการ หรือกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของคุณ ถ้าหากคุณต้องการให้เราติดต่อไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว โปรดเลือกให้ความยินยอมกับเราในกรณีต่อไปนี้




* คุณสามารถถอนความยินยอมของคุณได้ทุกเมื่อ สำหรับช่องทางการติดต่อเพื่อขอถอนความยินยอม และรายละเอียดการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลของคุณ โปรดอ่านได้ที่ ประกาศความเป็นส่วนตัวของเรา