Share this
ตอบให้ชัด! สัญญาเงินกู้ดิจิทัล ถูกกฎหมายจริงไหม?
Issues
May
Digital Transformation
Categories:
#Document Management System#Digital Transformation
Inspired by: Chanaree
Views
เมื่อพูดถึงการกู้ยืมเงิน หลายๆคนคงเห็นแต่ภาพความยุ่งยาก วุ่นวาย หรือความไม่แน่นอนที่จะกู้เงินให้ผ่านในแต่ละครั้ง ไม่เว้นแม้แต่บริษัทที่ให้กู้เงิน ก็คงจะเหนื่อยหน่ายกับขั้นตอนที่ซับซ้อน ต้องเซ็นเอกสารมากมาย การพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่หน้าสาขา และค่าใช้จ่ายที่เสียไปจากการใช้บริการเมสเซนเจอร์วิ่งไปมา ทำให้การบริการนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยในปัจจุบันของการกู้ยืมเงิน
แต่การที่เทคโนโลยีถือกำเนิดขึ้นมาย่อมมีเหตุผล ที่จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของเราทุกคนให้เปลี่ยนไป หนึ่งในนั้นคือ “Digital Lending” การให้บริการสินเชื่อดิจิทัล ที่จะทำให้กระบวนการกู้ยืมเงินอยู่ในรูปแบบดิจิทัลผ่านเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เปลี่ยนการกู้ยืมเงินให้กลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่าย สะดวก และยังคงปลอดภัยในแง่ของการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคล ตอบโจทย์ผู้ให้บริการ และผู้ขอสินเชื่อที่ไม่ต้องเสียเวลากับขั้นตอนมากมาย และยังอนุมัติได้ไวกว่าที่เคยเป็นมาเพียงแค่คุณมีสมาร์ทโฟน
ซึ่งหนึ่งในขั้นตอนการขอสินเชื่อนั้น คือ การเซ็นสัญญา ที่ต้องมีการทำข้อตกลงระหว่างผู้ปล่อยกู้ เช่น ธนาคาร หรือธุรกิจลิสซิ่ง และผู้กู้ โดยมีการลงนามเพื่อผูกพันตนตามข้อกำหนดและเงื่อนไขภายใต้คำขอสินเชื่อในเอกสาร การที่ต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเดินทางมาเพื่อเซ็นเอกสารนั้น เป็นปัญหาที่เชื่อว่าผู้ปล่อยกู้อยากแก้ไข เพื่อความสะดวกต่อทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ และนี่ทำให้การทำสัญญาในรูปแบบดิจิทัลเกิดความสำคัญขึ้นมา
แล้วสัญญาดิจิทัลสามารถทดแทนสัญญากระดาษได้จริงหรือไม่?
ต้องกล่าวว่า สัญญาดิจิทัล หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า "e-Contract" เป็นการทำสัญญาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตอบโจทย์สำหรับบริษัทที่มีการเซ็นสัญญาอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ หรือแม้แต่บริษัทที่ต้องมีการเซ็นสัญญาในการขายผลิตภัณฑ์ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจยานยนต์ เป็นต้น e-Contract นี้จะเข้ามาช่วยให้ปัญหาทุกอย่างหมดไป ทั้งต้นทุนการจัดส่งเอกสาร ค่าเสียเวลาในการเดินทาง หรือความวุ่นวายในการทำเอกสารสัญญา นอกจากนี้ สัญญาดิจิทัลยังสามารถทดแทนสัญญาในรูปแบบกระดาษได้ 100% โดย การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Signature ที่กฎหมายรองรับอย่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
สัญญาดิจิทัล มีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับสัญญากระดาษหรือไม่
หากใครที่ยังสงสัยว่าแค่ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์มันพอที่จะบอกได้อย่างไรว่าสัญญาดิจิทัลถูกกฎหมาย นำไปใช้เป็นหลักฐานบนชั้นศาลได้จริงหรือไม่ ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ยอมรับว่าเป็นคนเซ็น หรือเกิดการที่ผู้กู้หนีหาย ต้องขอบอกเลยว่า e-Contract ไม่ได้มีเพียงแค่ความน่าเชื่อถือของการลงลายมือชื่อเท่านั้น แต่ยังมีหลักฐานประกอบอื่นๆ อย่างแน่นหนา ที่จะช่วยให้สัญญานั้นมีผลทางกฎหมาย และผู้ลงนามไม่สามารถปฏิเสธได้ เรียกว่าดิ้นไม่หลุดกันเลยทีเดียว
1. การพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัล
ในการเซ็นสัญญา 1 ฉบับนั้น สามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบของผู้ประกอบธุรกิจที่มีใบอนุญาต เช่น NDID ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ด้วยขั้นตอนการพิสูจน์และยันยันตัวตนต่างๆ เช่น การแสดงตนผ่านแอพลิเคชั่นของธนาคาร, บัตรประชาชน และข้อมูลชีวมิติ (Biometric Comparison) เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการทำสัญญานั้นๆนอกจากการพิสูจน์ยืนยันตัวตนข้างต้นแล้ว โคเดียมยังสามารถให้ผู้ลงนามอัดคลิปวิดีโอ ณ ขณะที่ทำการลงนามลงในไฟล์สัญญานั้นๆ ได้ด้วย โดยรายละเอียดในวิดีโอทางผู้ให้กู้สามารถกำหนดเองได้ว่าต้องการให้ผู้กู้ทำอะไรบ้าง เช่น การรายละเอียดสัญญา พร้อมเอ่ยนามของผู้ลงนาม เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือของสัญญาฉบับนั้นยิ่งขึ้น
2. หลักฐานแวดล้อมประกอบ
อีกหนึ่งหลักฐานเพื่อให้สัญญาได้รับความน่าเชื่อถือ คือ การเก็บข้อมูลและเอกสารแนบที่เกี่ยวข้องในเอกสาร ทุกครั้งที่มีการเกิด action เช่น ชื่อของผู้ลงนาม, วันและเวลาในการลงลายมือชื่อ ที่สามารถตรวจสอบได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อความปลอดภัยหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในเอกสาร และหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในเอกสาร ผู้ให้กู้ไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไป เพราะสัญญาดิจิทัลนั้นจะทำการแจ้งเตือนทันที ในกรณีที่เนื้อหาในสัญญาถูกเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
แล้วสัญญาดิจิทัลใช้กับกรณีใดได้บ้างล่ะ?
เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้นว่าสัญญาดิจิทัลสามารถนำไปใช้กับการดำเนินธุรกิจอย่างไรได้บ้างในเชิงของ Digital Lending โคเดียมจะยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญามาให้อ่าน ว่าสัญญาดิจิทัลนั้นมีส่วนช่วยให้กระบวนการทำงานดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
การขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือ ธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ
ที่จะสามารถสร้างสัญญาออนไลน์เพื่อให้บริษัท และผู้กู้สามารถลงนามผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ได้ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป หรือคอมพิวเตอร์
กระบวนการทำสัญญาจองห้อง และสัญญาเช่าซื้อในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
บริษัทสามารถสร้างเอกสารสัญญาผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับการอนุมัติให้กับลูกค้าที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการจองห้อง เพื่อให้ลูกค้าทำการชำระเงินค่าจอง และถือว่าการจองนั้นเสร็จสิ้น พร้อมทั้งเอกสารสัญญาสมบูรณ์ รวมไปถึงการเซ็นสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทได้เช่นกัน
ขั้นตอนการทำสัญญาจองรถ และสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ในธุรกิจยานยนต์
บริษัทสามารถสร้างสัญญาดิจิทัลบนระบบเพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าที่ต้องการจองรถ และเช่าซื้อรถ ในการเซ็นเอกสาร โดยสามารถเซ็นผ่าน email ที่ส่งให้ และสามารถกำหนด template ไว้บนระบบ e-Contract สำหรับการทำสัญญาครั้งถัดไป เพื่อความสะดวกต่อบริษัทที่มียอดการจองรถจำนวนมาก
ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่สัญญาดิจิทัลสามารถเข้ามาทำหน้าที่แทนเอกสารสัญญารูปแบบกระดาษ เพื่อลดภาระของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามที่กฎหมายรองรับ ซึ่งโคเดียมได้ให้บริการระบบ e-Contract ที่จะเข้ามาช่วยให้การทำธุรกรรมในบริษัทเป็นไปอย่างมีคุณภาพ และทะลุขีดจำกัดที่กระดาษทำให้ไม่ได้ อย่างการทำ Digital Lending และสัญญาอื่นๆทุกรูปแบบ
หมดยุคที่จะต้องทนเซ็นสัญญากระดาษอีกต่อไปแล้ว! อยากเป็นองค์กรที่ขึ้นชื่อว่า #PaperZero สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ต้องการขอทดลองใช้งานฟรี! เพียงติดต่อฝ่ายขายของ โคเดียมได้ที่
Website: Codium
Line: @codium
Call: 094-932-6560 (ฝ่ายขาย)
Mail: [email protected]