Share this
Low Code Framework ทำงานอย่างไร?
Issues
April
Programmer
Categories:
#Automated Process#Front-end Tools#Back-end Tools
Inspired by: Natchaya
Views
จากที่เราได้รู้จักเเละทำความเข้าใจไปเเล้วเกี่ยวกับ Low-code-framework ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกกันในเชิงปฏิบัติกันมากขึ้นว่า Low Code มีการทำงานอย่างไร เเละเหมาะต่อการนำไปใช้ในงานลักษณะไหนกันบ้าง
Low Code ทำงานอย่างไร?
การทำงานของ Low Code Development Platforms จะแตกต่างจากการพัฒนาระบบแบบเดิมที่ใช้การเขียน Code ทั้งหมด โดยจะมีฟีเจอร์หลักๆ ดังต่อไปนี้
- การใช้งาน Visual Modelling ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า Declarative Tooling ที่จะช่วยลดระยะเวลาการออกแบบระบบผ่านการใช้งาน Visual Apprach และ Model แทนที่การใช้ Code โดยจะเป็นการนำเสนอรูปแบบระบบที่เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น
- การใช้งานและสร้างระบบผ่านการ ลากและวาง (Drag and Drop Interface) เพื่อทำการสร้างระบบ โดยจะมีการใช้งาน Visual Element ที่จะเป็นพื้นฐานการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
- - การสร้างเงื่อนไของระบบ
- - ขั้นตอนในการทำงานทั้งหมด
- - การจัดการ User Experience (UX) โดยหากอธิบายง่ายๆ ผู้ใช้งานสามารถทำการสร้างระบบผ่านการวาด Workflow, Data Model, และ User Interface ผ่านระบบ Visual IDE ที่ผู้ให้บริการ Low Code Development Platforms มีให้นั่นเอง
ซึ่งการทำงานของ Low Code Development Platforms จะครอบคลุมการงานที่หลากหลาย หรือเรียกว่า Out of the box functionality (OOTB) ไม่ว่าจะเป็น Preconfigured Functionality หรือเครื่องมือที่มีการเตรียมไว้อย่างครอบคลุมสำหรับการสร้างระบบ, การเลือกใช้งาน Component ที่มีความจำเป็น, การเชื่อมต่อกับระบบอื่น, การจัดการ Data Model รวมถึงการ Deploy ของระบบอย่างไร้รอยต่อ
ขอบคุณที่มาภาพจาก Creatio
นอกจากนี้ Low Code Development Platforms ยังรองรับการเขียน Hand Coding ลงไปในส่วนที่จำเป็น ทำให้สามารถรองรับการทำงานที่หลากหลายและครอบคลุมต่อความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
งานประเภทไหนที่เหมาะต่อการทำ Low Code?
ในปัจจุบันมีนักพัฒนาระบบจากหลายหลายประเทศเริ่มการใช้งาน Low Code เพื่อพัฒนาระบบที่หลากหลาย อาทิ
- การสร้าง Digital Core Platform และการพัฒนาระบบที่มีอยู่ ซึ่งเน้นที่การสร้างระบบของธุรกิจต่างๆ ให้ตอบสนองต่อการทำงานและยังครอบคลุมการพัฒนาระบบเดิมที่มีอยู่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการใช้งาน Low Code จะทำให้การพัฒนาเหล่านี้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถใช้งานแบบ Agile โดยมีการพัฒนาระบบอย่างคล่องตัวได้อีกด้วย
- การพัฒนาระบบในการให้บริการลูกค้าและเสริมประสบการณ์ในการใช้งาน (Self Service Application and Digital Consumer Experience) เนื่องจาก Low Code ช่วยให้ธุรกิจต่างๆสามารถสร้าง Platform ที่ต้องการได้เร็วขึ้น จึงทำให้สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยในการสร้างเสริมประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าอีกด้วย
- การสร้างระบบจาก Case Management เนื่องจากแต่ละธุรกิจย่อมมีการใช้งานและขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้งาน Low Code Development Platform ที่ทำให้ผู้มีความเข้าใจต่อการทำงานมาร่วมออกแบบระบบได้ แม้จะไม่มีความทักษะทางด้าน Programming จึงสามารถช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้มากขึ้น
- การพัฒนาระบบบนเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Application, Website, Workflow ฯลฯ เนื่องจาก Low Code Development Platform มีเครื่องมือในการพัฒนาระบบอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการวาง Data Model, Visual Interface, การวางแผน Workflow และการ Deploy จึงเหมาะกับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ดังนั้นจึงจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบวงจร
- การใช้งานที่ต้องการเชื่อมต่อกับเซอร์วิสภายนอก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเชื่อมต่อกับเซอร์วิสต่างๆนั้นมีความจำเป็นต่อการทำงาน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น แต่บ่อยครั้งการเชื่อมต่อนั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และอาจต้องใช้เวลามากกว่า ในกรณีที่ใช้การพัฒนาระบบแบบเดิม แต่หากใช้ Low Code Development Platform การเชื่อมต่อเหล่านี้จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากมีเครื่องมือของระบบที่ช่วยเหลือและเพิ่มความคล่องตัวในการเชื่อมต่อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เพิ่มความสะดวกสบายต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น
โปรเจคงานที่ไม่เหมาะต่อการทำ Low Code?
อย่างไรก็แล้วแต่ ถึงแม้ว่า Low Code Development Platform จะตอบโจทย์การทำงานของนักพัฒนาระบบและความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างหลากหลาย แต่ยังคงมีการทำงานที่อาจไม่เหมาะกับการใช้งาน Low Code ดังนี้
- กรณีที่ต้องการแก้ไขปัญหาปลายเปิด หรือปัญหาทียังไม่มีการวางแผนถึงการแก้ไขอย่างชัดเจน เนื่องจากการทำงานของ Low Code เราจำเป็นต้องทราบถึงปัญหาและโครงสร้างรวมถึงการออกแบบ Solutuon ของปัญหาเหล่านั้นก่อน แต่หากเป็นปัญหาที่ยังไม่มีความแน่ชัดสำหรับแนวทางในการแก้ไข อาจไม่เหมาะกับการใช้งานของ Low Code
- กรณีที่มีต้องใช้เงื่อนไขพิเศษมาก ถึงแม้ว่า Low Code Development Platform จะมีเครื่องมือที่ค่อนค้างครบถ้วนสำหรับการสร้างระบบ อย่างไรก็แล้วแต่อาจยังมีข้อจำกัดในกรณีที่มีการสร้างระบบที่มีความซับซ้อน หรือต้องมีการตั้งเงื่อนไขพิเศษจำนวนมาก
- กรณีที่ระบบนั้นต้องการความปลอดภัยอย่างสูงสุด ในกรณีที่ระบบนั้นต้องการความปลอดภัยมากๆ อาจยังไม่เหมาะกับการใช้งาน Low Code แน่นอนว่า Low Code Development Platform นั้นมีฟีเจอร์ในการดูแลเรื่องความปลอดภัยของระบบ แต่อาจจะยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การจัดการข้อมูลขององค์กรอย่างปลอดภัย เนื่องจากทุกๆคนสามารถสร้าง Low code ได้ ดังนั้นจึงอย่กต่อการตรวจสอบการทำงาน อย่างไรก็แล้วแต่ Low Code Development Platform หลายๆเจ้า เริ่มมีการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงเพื่อป้องกันปัญหา
Low Code Platform เป็นเรื่องนิยมทำกันมากขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วยงานโปรเเกรมเมอร์ได้จริง เเละยังทำให้คนทำงานที่ไม่ใช่โปรเเกรมเมอร์สามารถเข้ามาช่วยทำงานได้อีกด้วย เเต่อย่างไรก็ดี Low Code Platform ไม่ได้เหมาะต่อการนำไปปรับใช้กับทุกงาน ผู้ใช้ควรศึกษาเเละดูตัวงานอีกที เพื่อให้ใช้งานได้อย่างตรงจุดเเละมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก
You may also like
วิธีสร้าง Chatbot ในแบบฉบับง่ายๆ ไม่ใช่ คนTech ก็ทำได้
มิ.ย. 06, 2024•อ่านเมื่อ 2 ชั่วโมงที่แล้ว
Back-end Tools
Front-end Tools
Digital Transformation
HR Bot สร้างขึ้นมาได้อย่างไร
มิ.ย. 06, 2024•อ่านเมื่อ 3 วันที่แล้ว
Bot
Automated Process
Front-end Tools
5 ปัจจัยหลัก ที่ใช้ประเมินการทำงาน Developer
มิ.ย. 06, 2024•อ่านเมื่อ 4 ชั่วโมงที่แล้ว
Front-end Tools
Back-end Tools
Angular event
มิ.ย. 06, 2024•อ่านเมื่อ 2 วันที่แล้ว
Front-end Tools
Automated Process
Video