Share this

ทำไมต้อง LOW CODE Framework?

Issues
April
Programmer
Categories:
#Automated Process#Front-end Tools#Back-end Tools
Inspired by: Natchaya
Views

ที่มาที่ไปการกำเนิด Low Code

 
หากพูดถึงการเริ่มต้นของ Low Code นั้น อาจต้องย้อนไปในปี 1980 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Fourth-Generation Language (4GL) หรือเป็นเหมือนภาษาที่สี่ก็ว่าได้ ด้วยเป้าหมายที่จะเขียนระบบหรือแอปพลิเคชั่น โดยใช้ Code ที่น้อยลง และระยะเวลาการสร้างระบบที่รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความต้องการให้บุคคลที่อาจไม่ได้มีความรู้หรือประสบการณ์ทางด้าน Programming สามารถสร้างระบบด้วยตนเองได้อีกด้วย
 
อย่างไรก็แล้วแต่คำว่า Low Code ที่เป็นการจำกัดความสำหรับพัฒนาระบบหรือแอปพลิเคชั่น มีอ้างถึงเป็นครั้งแรกโดย Foresster Research ในปี 2014 เนื่องจากการเกิดขึ้นของ Low Code Development Platforms ซึ่งกลายมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบและแอปพลิเคชั่น  โดย Low Code Development Platforms นั้นมุ่งเน้นที่จะใช้ Code ให้น้อยลง และทำให้บุคคลทั่วไปที่อาจไม่มีความรู้ทางเทคนิค สามารถสร้างระบบใหม่ๆได้ด้วยตนเอง
 

อะไรคือ Low Code?

 
Platform that enable rapid delivery of business application with minimum of hand coding and minimal upfront investment in setup, training and deployment
 
ข้อความด้านบนคือคำจำกัดความสำหรับ  Low Code Development Platforms  โดย Forrester  Research (2014) โดยหากสรุปง่ายๆ Low Code คือแนวคิดการทำงาน หรืออาจพูดได้ว่าเป็นเครื่องมือแบบใหม่ สำหรับสร้างและพัฒนาระบบในเวลาที่รวดเร็ว โดยจะมีการใช้งานเขียน Code ให้น้อยลง และยังครอบคลุมถึงการตั้งค่าระบบ หรือการ Deploy ด้วยเช่นกัน
 
ในปัจจุบัน Low Code ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยม และถูกเลือกใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปแล้ว Low Code Development Platforms ต่างๆ จะมีคุณลักษณะพื้นฐานดังต่อไปนี้
 
    • ระบบ Visual IDE ที่ให้ผู้พัฒนาระบบสามารถกำหนดการทำงาน, UI และจัดการข้อมูลของระบบได้ผ่านวิธีการลากเเละวาง
    • External Server Integrations สามารถรองรับการเชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลได้
    • Application Life Cycle Management สามารถจัดการบริหารระบบได้ จากเครื่องมือ Build, Debug, Deploy และ Maintain ระบบได้อัตโนมัติ
 

ความเเตกต่างของระบบ Code เดิม, Low Code, เเละ No Code

 
การทำงานของ Low Code คือการใช้งานของระบบผ่าน Visual Modelling ในการสร้างระบบโดยลดการเขียน Code ลง
 
การพัฒนาระบบแบบเดิม (Traditional Coding) คือการสร้างระบบโดยการเขียน Code โดยนักพัฒนาทั้งหมด
 
No Code คือการสร้างระบบ โดยไม่ใช้ Code เลย 100%
 
ดังนั้นอาจพูดได้ว่า ทั้งสามประเภทการทำงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป้าหมายหลักในการสร้างและพัฒนาระบบ แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน
 

ใครสามารถทำ Low code ได้บ้าง?

 
การใช้งาน Low Code นั้นถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความหลากหลายมาลองสร้างระบบได้ด้วยตนเอง โดยหลายๆองค์กร ให้คำจัดกัดความ ผู้ที่สามารถใช้งาน Low Code Development Platform ดังนี้
 
อันดับแรกคือ Professional Developer หรือนักพัฒนาระบบที่มีความรู้และประสบการณ์นั่นเอง ซึ่งนักพัฒนาเหล่านี้คือผู้สร้างระบบโดยการพัฒนาแบบเดิม (Traditional Coding) มาก่อน แต่ยังไงก็แล้วแต่ นักพัฒนาหลายๆท่าน เริ่มมีการปรับใช้ Low Code สำหรับการทำงานบ้างแล้ว
 
ต่อไปคือ Citizen Developer หรืออาจเรียกได้ว่าผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการทำงาน Programming มาก่อน แต่ผู้ใช้งานเหล่านี้ก็สามารถดำเนินการสร้างระบบผ่าน  Low Code Development Platform ได้ เนื่องจากมีหลักการทำงานที่เข้าใจง่ายนั่นเอง
 

ทำไมต้องทำ Low code?

 
ในปัจจุบัน ทั้งผู้ประกอบการและนักพัฒนาระบบ เริ่มให้ความสนใจและปรับใช้ Low Code มากขึ้น โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้
 
    • สามารถพัฒนาระบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งถือเป็นข้อดีสำหรับทั้งนักพัฒนาระบบและลูกค้า เนื่องจากการพัฒนาระบบได้เร็วจะทำให้การทำงานน้อยลง และลูกค้ายังได้รับระบบที่มีคุณภาพไปใช้ในเวลาอันสั้น
 
    • ทำให้นักพัฒนาระบบสามารถทำงานได้เร็วขึ้น
หากมองการทำงานแล้วถึงแม้ว่าการใช้งาน Low Code อาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของนักพัฒนา แต่ในทางกลับกันการใช้งาน Low Code อาจจะมาทดเเทนการทำงานของนักพัฒนาระบบได้ เนื่องจากผู้คนอาจหันมาให้ความสำคัญหรือเลือกใช้การทำงาน Low Code มากขึ้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้พัฒนาระบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมากที่นักพัฒนาระบบทุกคนให้ความสำคัญต่อการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะใช้ Low Code เพื่อลดงานในส่วนที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้ Code
 
    • การปรับตัวสำหรับธุรกิจ (Digital Transformation)
ปฏิเสธไม่ได้เลยในปัจจุบัน เป็นยุคที่ธุรกิจทั้งหลายต้องเริ่มปรับตัวสู่ Digital Transformation นอกจากระบบที่ดีแล้ว ความเร็วในการปรับตัวก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในขณะที่คุณกำลังรอการปรับตัวจากการทำระบบแบบเดิม ทั้งคู่แข่ง และหน่วยงานธุรกิจอื่นๆ อาจจะเดินนำหน้าคุณไปแล้วหลายก้าว ดังนั้นการปรับใช้ Low Code ให้เหมาะสมกับระบบที่ต้องการ จะช่วยให้การปรับตัวเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
 
    • ความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
หากเทียบกับการพัฒนาระบบแบบเดิมแล้ว การใช้งาน Low Code จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า เนื่องจากมีการจัดการที่ค่อนข้างง่ายหากเทียบกับการแก้ไขผลงานที่ถูกสร้างผ่านการ Hand Coding นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้กับระบบการทำงานแบบเดิมให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยสรุปเมื่อการใช้งาน Low Code นั้นรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี จึงอาจช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าทั้งต่อระบบและองค์กร
 
    • ลดค่าใช้จ่าย
เนื่องจากการใช้เวลาพัฒนาที่น้อยลง จึงใช้นักพัฒนาระบบน้อยลงไปด้วย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำงานนั้นถูกลง เรียกได้ว่าสามารถสร้างระบบบที่มีคุณภาพในราคาที่ถูกลงนั่นเอง
 
    • การใช้งานแบบอัตโนมัติ (Automation)
ด้วยการทำงานของ Low Code ที่ช่วยให้การพัฒนาระบบเป็นไปได้เร็วยิ่งขึ้น ช่วยให้กระบวนการทำงานดำเนินไปได้เเบบอัตโนมัติมากขึ้น
 
    • การมอบประสบการณ์ที่หลากหลาย (Multi Experience)
การใช้งาน Low Code ทำให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้สะดวกขึ้นทั้งการทำ built in Template, automated refactoring, chatbot ฯลฯ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้การทำงานของ Low Code ยังรองรับโซลูชั่นการทำงานที่หลากหลาย ทั้งการจัดการกระบวนการงานแบบอัตโนมัติ (Process Automation) ไปจนสู่ระบบที่มีความซับซ้อน
 
    • ลดช่องว่างระหว่างคนที่รู้เเละไม่รู้ด้านโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้
เนื่องจาก Low Code เป็นการทำงานผ่านเเพลตฟอร์ม ที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้งานได้ แม้จะไม่มีทักษะเกี่ยวกับ Programming ดังนั้นอาจช่วยให้คนจากหลากหลายประเภทการทำงานมาทำงานร่วมกัน ช่วยนำเสนอโซลูชั่น และความคิดสร้างสรรค์ ที่จะช่วยพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
 
    • ทำให้ผู้ใช้งานหลายๆคนสามารถทำงานพรัอมกันได้ (Multi User Development)
นักพัฒนาสามารถทำการสร้างระบบได้ในเวลาเดียวกัน และยังช่วยสร้างเสริมการทำงานเป็นทีมได้อีกอีกด้วย
 
นอกจากนี้ อ้างอิงจาก Gartner มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2024 การพัฒนาระบบหรือแอปพลิเคชั่น โดยใช้ Low Code Development Platforms จะมีความเป็นไปได้สูงถึง 65%
 
หรืออาจสรุปง่ายๆ Low Code คือปัจจุบันและอนาคตของการสร้างสรรค์ระบบที่เราควรให้ความสำคัญในการเรียนรู้และปรับใช้ ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอันใกล้นี้
 
 
ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก
https://simplifier.io/en/why-low-code/low-code-platforms/
https://www.techtalkthai.com/what-is-low-code-development-platform-by-outsystems/
https://www.marketingoops.com/digital-transformation/low-code/
https://www.auraquantic.com/what-is-low-code/
https://www.quickbase.com/business-application-platform/what-is-low-code
https://techfeedthai.com/tag/low-code_platform/
https://www.creatio.com/page/low-code-platforms
https://kissflow.com/low-code/what-is-low-code-development/
https://blog.cloudhm.co.th/low-code-vs-traditional-development/
https://www.csoonline.com/article/3404216/4-security-concerns-for-low-code-and-no-code-development.html
https://www.techtalkthai.com/ctc-global-outsystems-low-code-dev-platform/
You may also like
Low Code Framework ทำงานอย่างไร?
Low Code Framework ทำงานอย่างไร?
ก.ย. 25, 2024อ่านเมื่อ 1 วันที่แล้ว
Back-end Tools
Front-end Tools
Automated Process
วิธีสร้าง Chatbot ในแบบฉบับง่ายๆ ไม่ใช่ คนTech ก็ทำได้
วิธีสร้าง Chatbot ในแบบฉบับง่ายๆ ไม่ใช่ คนTech ก็ทำได้
ก.ย. 25, 2024อ่านเมื่อ 28 นาทีที่แล้ว
Back-end Tools
Front-end Tools
Digital Transformation
มารู้จักกับ CI/CD ตัวช่วยให้งานโปรแกรมเมอร์ง่ายขึ้น
มารู้จักกับ CI/CD ตัวช่วยให้งานโปรแกรมเมอร์ง่ายขึ้น
ก.ย. 25, 2024อ่านเมื่อ 9 นาทีที่แล้ว
Automated Process
Front-end Tools
Bot
HR Bot สร้างขึ้นมาได้อย่างไร
HR Bot สร้างขึ้นมาได้อย่างไร
ก.ย. 25, 2024อ่านเมื่อ 4 ชั่วโมงที่แล้ว
Bot
Automated Process
Front-end Tools

SUBSCRIBE TO OUR

NEWS
LETTER .

Code , Consult , Communicate

โคเดียมสัญญาว่าจะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ และเราจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเท่าที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอผลิตภัณฑ์/บริการที่คุณร้องขอมาเท่านั้น

ในบางกรณีเราอาจจะติดต่อไปหาคุณเพื่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์, บริการ หรือกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของคุณ ถ้าหากคุณต้องการให้เราติดต่อไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว โปรดเลือกให้ความยินยอมกับเราในกรณีต่อไปนี้




* คุณสามารถถอนความยินยอมของคุณได้ทุกเมื่อ สำหรับช่องทางการติดต่อเพื่อขอถอนความยินยอม และรายละเอียดการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลของคุณ โปรดอ่านได้ที่ ประกาศความเป็นส่วนตัวของเรา